วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

โครงงาน วีรชน


เจลล้างมือว่านหางจระเข้
Aloe Vera Gel

นายวิชาญฤทธิ์      พิศุทธ์ทิฆัมพร      เลขที่2
นายวีรชน             จิรพงศากุล           เลขที่3
นายปิยะ                พรมแพงดี            เลขที่4
นายอรรถภูมิ         อินทพงษ์              เลขที่6
นายไตรรพี           จิระสมบัติ             เลขที่9
นายณัฐวุฒิ            สอนสมยุค            เลขที่13
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8

ครูที่ปรึกษาโครงงาน
คุณครู ศุจิรัตน์ คิดอยู่

โครงงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา IS รหัสวิชา I32201
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย



                                                                                                                                                                   

                                                                                                                                                          ก
                                                                                                                                                

บทคัดย่อ
โครงงานวิชา IS เรื่อง เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ จัดทำขึ้นเพื่อที่เราจะนำวุ้นหรือเจลที่อยู่ภายในว่านหางจระเข้มาทำเจลล้างมือและเพื่อที่จะลดการใช้สารเคมีจากการทำเจลล้างมือ โดยเราสามารถแบ่งเป็นการทดลองออกเป็น  2 ตอนคือ
ตอนที่ 1 นำว่านหางจระเข้มาปลอกเอาเปลือกออกแล้วฝานเอาวุ่นข้างในว่านหางจระเข้ออกมา หลักจากนั้นนำเนื้อวุ่นมาปั่นให้ละเอียด
ตอนที่ 2 นำเนื้อที่ได้มาจากว่านหางจระเข้มาผสมกับชุดทำสบู่ที่เราเตรียมไว้ จากนั้นนำแอลกอฮอล์ที่เตรียมไว้แล้วมาตวงในถ้วยจำนวน 15 ml

สรุปได้ว่า  เจลจากว่านหางจระเข้นั้นสามารถทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น  รักษาแผลสมานแผลช่วยในการต่อต้านเชื้อแบททีเรียได้ โดยที่เราก็ใช้สารเคมีในปริมาณที่น้อยกว่าเจลล้างมือที่วางขายที่อยู่ในท้องตลาดและเจลล้างมือที่ได้ก็สามารถที่จะล้างมือให้สะอาด


















                                                                                                                                           

                                                                                                                                                    ข
                                                                                                                                             
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง เจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลดังต่อไปนี้  คือ คุณครู ศุจิรัตน์ คิดอยู่  ครูประจำวิชา IS ที่ช่วยให้คำปรึกษาช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงาน
ขอขอบคุณเพื่อนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/8 สำหรับว่านห่างจระเข้ที่นำมาใช้ทำเจลล้างมือของคณะผู้จัดทำทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องไว้ ณ โอกาสนี้


คณะผู้จัดทำ










                                                                                                                                           

                                                                                                                                                        ค

สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                                       หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                                                     
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                      ข
สารบัญ                                                                                                                                                        ค
สารบัญตาราง                                                                                                                                              
สารบัญรูป                                                                                                                                                   
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                                                     
1.1ความเป็นมาของโครงงาน                                                                                                         1
1.2จุดมุ่งหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า/วัตถุประสงค์                                                                   1
1.3ขอบเขตการศึกษา                                                                                                                     1
1.4ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน                                                                                                1
1.5วิธีดำเนินการ                                                                                                                            1
1.6นิยามศัพท์เฉพาะ                                                                                                                      1
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                2.1ว่านหางจระเข้                                                                                                                        2
                2.2แอลกอฮอล์                                                                                                                            2
บทที่ 3 วิธีดำเนินการ
               3.1วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้                                                        3
         3.2ขั้นตอนการดำเนินงาน                                                                                                           3
                3.2.1กำหนดปัญหา หาสาเหตุ                                                                                                     3
                3.2.2ขั้นตอนการดำเนินการ                                                                                                        3
                3.2.3วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง                                                                                    3
                3.2.4.สรุปและประมวลผล                                                                                                          3
3.2.5นำไปตกแต่งเป็นฝังโครงงานและจัดอยู่ในรูปแบบรายงาน                                                   3
บทที่ 4 ผลการทดลอง
                4.1ตารางการทดลอง                                                                                                                    4
บทที่ 5 สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
                5.1สรุปผลการทดลอง                                                                                                                  5
                5.2อภิปรายผล                                                                                                                              5
                5.3ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                     5
บรรณานุกรม                                                                                                                                                      
ภาคผนวก    

                                                                                  

                                                                                                                                           

                                                                                                                                                                                     ง
      
สารบัญตาราง
เรื่อง                                                                                                                             หน้า
ตารางที่ 1 วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้                                                                                         6
ตารางที่ 2  ตารางการทดลอง                                                                                                            7

























                                                                                                                                           

                                                                                                                                                  จ
                                                                                                                                                      
สารบัญรูป
เรื่อง                                                                                                                             หน้า
รูปที่ 1 ว่านหางจระเข้                                                                                                    2
รูปที่ 2 แอลกอฮอล์                                                                                                         4



























                                                                                                                                           




บทที่ 1

บทนำ

1.ความเป็นมาของโครงงาน

            เจลล้างมือที่ทำในโครงงานนี้ใช้ส่วนประกอบจากว่านหางจระเข้โดยว่านหางจระเข้นั้นสรรพคุณต่างๆ  เจลล้างมือในปัจจุบันมีการนำเอาสารเคมีมาใช้เป็นส่วนผสมเป็นจำนวนมากทำให้เราได้รับสารเคมีที่เข้าไปในร่างกาย ถ้าสารเคมีตกค้างแล้วไปสะสมในร่างกายของเราเป็นเวลานานอาจก่อให้เกิดอันตรายได้



2.จุดมุ่งหมายที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า/วัตถุประสงค์

    1.เพื่อศึกษาวิธีทำเจลล้างมือจากว่านหางจระเข้

    2.เพื่อฆ่าเชื้อและทำความสะอาดมือ
    3.เพื่อทำเจลล้างโดยใช้สารเคมีน้อยที่สุด

3.ขอบเขตการศึกษา
    1.ใช้ล้างมือแล้วสะอาดไม่มีคราบของสิ่งสกปกติดมือ
    2.ล้างออกง่าย

4.ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
    1.ได้รู้สรรพคุณของว่านหางจระเข้
    2.ได้รู้วิธีทำเจลล้างมือ
    3.ได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม

5.วิธีดำเนินการ
     ขั้นตอนที่1 นำแชมพู ที่เตรียมไว้ผสมกับโซเดียม แล้วคนให้เข้ากัน
     ขั้นตอนที่2 นำกรดมะนาวผสมต่อจากขั้นตอนแรก แล้วคนให้เข้ากัน
     ขั้นตอนที่3 ใส่น้ำลงไป แล้วก็คนให้เข้ากัน
     ขั้นตอนที่4 ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ แล้วนำไปล้างให้สะอาด เสร็จแล้วนำไปปั่นให้ละเอียด
     ขั้นตอนที่5 นำว่านหางจระเข้ที่ปั่นแล้ว มาผสมกับขั้นตอนที่3 เสร็จแล้วนำแอลกอฮอล์ มาผสม-
                        แล้วคนให้เข้ากัน
     ขั้นตอนที่6 ทิ้งไว้ให้ฟองหายหมด

6.นิยามศัพท์เฉพาะ   
เจล คือ เป็นวัสดุคล้ายของแข็ง เกิดจากสารละลายคอลลอยด์ (colloidal solution) มีโครงสร้างแบบร่างแห ที่สามารถเพิ่มปริมาตรเมื่ออยู่ในของเหลว ตัวอย่างของเจลที่กินได้ ได้แก่เจลาติน โดยมากมีสมบัติเป็นของเหลวเมื่อถูกกวน และสามารถกลับเป็นของแข็งเมื่อปล่อยทิ้งให้พัก (thixotropy)



                                                                                                                                           


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ในการทำโครงงานประเภททดลอง เรื่องเจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ ในครั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องดั้งนี้
1.ว่านหางจระเข้
2.แอลกอฮอล์
3.ชุดทำสบู่

1.ว่านหางจระเข้


รูปที่1ว่านหางจระเข้

อาณาจักร:      Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น:     Liliopsida
อันดับ: Asparagales
วงศ์:    Asphodelaceae
สกุล:   Aloe
สปีชีส์: A. vera
ว่านหางจระเข้สมุนไพรไทย ๆ ที่มีหน้าตาละม้ายคล้ายกับหางแหลม ๆ ของจระเข้ จนได้ชื่อเรียกที่บ่งบอกถึงลักษณะได้ดีว่า ว่านห่างจระเข้ คืออีกหนึ่งพรรณไม้ไทยที่นิยมปลูกไว้ติดบ้าน นอกจากจะใช้ประดับตกแต่งเพื่อความสวยงามแล้ว สรรพคุณต่าง ๆ ของว่านหางจระเข้ยังคุ้มค่าอีกด้วย ส่วนจะมีทีเด็ดขนาดไหนนั้น เราไปทำความรู้จักกับว่านหางจระเข้ให้มากขึ้นกันดีกว่า ..

          ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว สามารถออกดอกสีแดงอมเหลืองที่ปลายยอดได้ มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ แต่ต้องมีทางระบายน้ำได้ดี ป้องกันไม่ให้อมน้ำมากเกินไปจนรากเน่า

สรรรพคุณ
                วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-emodin, Aloesin, Aloin, สารประเภท Glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร Anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะในวุ้นใบว่านหางจระเข้นอกจากจะมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียแล้วยังช่วยสมานแผลได้ด้วย

2.แอลกอฮอล์


รูปที่2 แอลกอฮล์

อันตรายจากแอลกอฮอล์
ตามท้องตลาดในขณะนี้ มีการขายแอลกอฮอล์กันทั้งเมทิลแอลกอฮอล์และเอทิลแอลกอฮอล์ เมื่อมีผู้บริโภคไปซึ้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลจากร้านขายยา ผู้ขายมักจะหยิบแอลกอฮอล์มาให้เลือกทั้ง 2 ชนิด ราคาเอทิลแอลกอฮอล์จะสูงกว่าเมทิลแอลกอฮอล์เล็กน้อย เพราะฉะนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่และโดยเฉพาะผู้ที่ไม่รู้คุณสมบัติที่แท้จริงของแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มักจะเลือกชนิดที่ราคาถูกกว่า เพราะประหยัดเงิน และเข้าใจว่ามีคุณสมบัติเช็ดแผลได้เหมือนกัน แต่อันที่จริงแล้วคุณสมบัติของเอทิลแอลกอฮอล์ต่างกันมาก คือ
เอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ใช้กับร่างกายมนุษย์ได้ เช่น ผสมในยารับประทาน ผสมในสุราหรือเครื่องดื่มประเภทของมึนเมาหรือใช้ทาภายนอกร่างกาย เช่น ล้างแผล ผ้าเย็น กระดาษเช็ดหน้า สเปรย์ เป็นต้น  เมทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ชนิดมีพิษ ใช้สำหรับอุตสาหกรรมต่าง ๆเช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้แสงสว่าง หรือปนกับทินเนอร์ สำหรับผสมแลคเกอร์ แต่ห้ามใช้กับร่างกาย   จากคุณสมบัติของเมทิลแอลกอฮอล์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่าผู้ผลิตหรือผู้ขายไม่ควรนำเอาแอลกอฮอล์ทั้ง 2 ชนิด มาใช้แทนกัน เพราะจะทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายได้ เนื่องจากเมทิลแอลกอฮอล์หากนำมาใช้ล้างแผล แอลกอฮอล์จะซึมเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้ผู้ดื่มตาบอดหรือถึงตายได้ถึงแม้ว่าทางราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะควบคุม และตักเตือนผู้ผลิตและผู้ขายให้ระมัดระวังการนำเมทิลแอลกอฮอล์มาใช้ไม่ให้ผิดจากคุณลักษณะประจำของตัวมันแล้ว แต่ยังมีการใช้หรือขายผิดประเภทอยู่บ้างทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จึงใคร่ขอเตือนผู้ผลิตและผู้ขาย ขอให้ใช้ความระมัดระวังในการขายเมทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งจะเป็นพิษต่อผู้บริโภคได้ และขอให้แนะนำผู้บริโภคว่าก่อนซื้อแอลกอฮอล์เช็ดแผลทุกครั้งควรตรวจดูฉลากให้ละเอียดและเลือกชนิดที่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์เท่านั้นและทางที่ดีถ้าท่านไม่แน่ใจก็ควรซื้อแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขรับรองหรือซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว

ประโยชน์
                -ล้างมือที่มีกลิ่นหัวหอมติดด้วยแอลกอฮอล์ กลิ่นจะหมดไปอย่างรวดเร็ว
                 -เวลาเล่นน้ำทะเล  หากผิวหนังไปโดนแมงกะพรุน  ห้ามใช้น้ำจืดล้างและอย่าถูหรือเกา  ให้ใช้แอลกอฮอล์  เหล้า  น้ำหอม  น้ำด่าง  หรือ แอมโมเนียล้าง จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้
                 -ใช้น้ำ 1 ส่วน แอลกอฮอล์ 3 ส่วน ผสมกัน นำไปเช็ดถูโคมไฟที่ทำด้วยแก้วเจียระไนจะทำให้เนื้อแก้วใสสะอาด
                 - ถูลอยคราบน้ำฝน ที่เปื้อนรองเท้าด้วยแอลกอฮอล์ ที่ใช้จุดไฟเล็กน้อยแล้วขัดตามปกติ
                -ถ้าใช้สเปรย์ฉีดผมทุกวัน น้ำยาที่เหลือจะสะสมบริเวณหัวฉีดทำให้เกิดสนิมสีน้ำตาลได้   แก้โดยใช้ผ้าชุบน้ำแอลกอฮอล์ให้ชื้น  แต่อย่าให้ชุ่มโชกมาก  เช็ดรอบๆ  ก้านหัวฉีด  และระวังอย่ากดหัวฉีดขณะทำความสะอาด
                -ถ้าผ้าเปื้อนยางผลไม้   ใช้สำลี ชุบแอลกอฮอล์ เช็ดตรงลอยเปื้อนยางผลไม้จะหลุดออก แล้วจึงนำไปซักตามธรรมดา                                                                                                             
 -ถ้ากระเป๋าหนังใส่เสื้อผ้า หรือ รองเท้าหนังมีราขึ้น ให้ใช้แอลกอฮอล์ ผสมน้ำอย่างละครึ่งใช้ผ้าชุบบิดพอหมาด เช็ดให้ทั่วตากไว้ในที่ล่มโกรกลมให้แห้งจึงใช้ผ้าเช็ดอีกทีราจะหมดไป
-แอลกอฮอล์ที่ใช้ในการจุดไฟเป็นสารที่เป็นอันตรายไวไฟมากมีไอระเหยที่เป็นพิษ ต้องระมัดระวังในขณะที่ใช้ควรเก็บไว้ในที่ปลอดภัย

                                                              

  

                                                                                                                                           



บทที่ 3
วิธีดำเนินการ

วัสดุ อุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้

ที่
ชนิด
จำนวน
1
มีด
2  ด้าม
2
เครื่องปั่น
1   เครื่อง
3
ทัพพี
1  อัน
4
หม้อ
2  ใบ
5
ช้อน
2  ด้าม
6
บรรจุภัณฑ์
ชิ้น
7
ว่านหางจระเข้
1ต้น
8
แอลกอฮอล์
15 ml











ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.กำหนดปัญหา หาสาเหตุ
1.1.  มีฟองมากเกินไป
1.2.  ใส่น้ำมากเกินไป
2. ขั้นตอนการดำเนินการ
                ขั้นตอนที่1 นำแชมพู ที่เตรียมไว้ผสมกับโซเดียม แล้วคนให้เข้ากัน
                ขั้นตอนที่2 นำกรดมะนาวผสมต่อจากขั้นตอนแรก แล้วคนให้เข้ากัน
                ขั้นตอนที่3 ใส่น้ำลงไป แล้วก็คนให้เข้ากัน
                ขั้นตอนที่4 ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ แล้วนำไปล้างให้สะอาด เสร็จแล้วนำไปปั่นให้ละเอียด
                ขั้นตอนที่5 นำว่านหางจระเข้ที่ปั่นแล้ว มาผสมกับขั้นตอนที่3 เสร็จแล้วนำแอลกอฮอล์ มาผสม-
                                  แล้วคนให้เข้ากัน
               ขั้นตอนที่6 ทิ้งไว้ให้ฟองหายหมด
3. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง
4. สรุปและประมวลผล
5.นำไปตกแต่งเป็นฝังโครงงานและจัดอยู่ในรูปแบบรายงาน






                                                                                                                                           



บทที่ 4

ผลการทดลอง

ตารางการทดลอง


การทดลองครั้งที่1
การทดลองครั้งที่2
ใส่แชมพูปริมาณ 400 มิลลิกรัม
ใส่แชมพูปริมาณ 300 มิลลิกรัม
โซเดียม  1 ทัพพี
โซเดียม  ครึ่งทัพพี
กรดมะนาว  ครึ่งทัพพี
กรดมะนาว  1 ช้อนโต๊ะ
น้ำสะอาด  500 มิลลิกรัม
น้ำสะอาด  500 มิลลิกรัม
เนื้อว่านหางจระเข้บด 1 ต้น
แอลกอฮอล์ 15 ml

เนื้อว่านหางจระเข้ปั้น 1 ต้น



ผลการทดลองปรากฏออกมาว่าดังตารางต่อไปนี้

การทดลองครั้งที่1
การทดลองครั้งที่2
มีฟองเยอะเกินไป
มีฟองน้อยลงกว่าการทดลองแรก
ล้างออกยาก
ล้างออกง่ายขึ้น
ไม่มีกลิ่น
มีกลิ่นแอลกอฮอล์
เนื้อว่านหางจระเข้ใหญ่เกินไป
เนื้อว่านหางจระเข้ละเอียด











                                                                                                                                           


บทที่ 5
สรุปอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุปผลการทดลอง
                เจลล้างมือที่เราทำมาจากว่านหางจระเข้นั้นสามารถที่จะต่อต้านเชื้อแบททีเรียได้และมีสรรพคุณที่จะช่วยทำให้มือของเราสะอาดทำให้ผิวดูนุ่มชุ่มชื่นและมีคุณสมบัติคล้ายเจลล้างมือที่มีวางขายตามท้องตลาดอีกด้วย
อภิปรายผล
                เจลล้างมือที่เราทำการทดลองนั้นเราใช้เนื้อที่ได้มาจากว่านจระเข้ โดยไม่ได้ใช้สารเคมีมาใช้ในการทำเจลล้างมือมีเพียงส่วนประกอบที่เรานำมาใช้เป็นส่วนประกอบคือชุดทำสบู่และแอลกอฮอล์ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่ช่วยต่อต้านเชื้อแบททรีเรียได้ซึงเราใช่ในปริมาณที่น้อย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
              1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของว่านหางจระเข้
2. การทำเจลล้างมือ
3.เป็นแนวทางในการนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์.
4. เป็นแนวทางให้มีการศึกษาวิจัยและปรับปรุงเจลล้างมือจากว่านหางจระเข้ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นในอนาคต
5. สามารถทำความสะอาดเชื้อโรคที่มีอยู่บนมือได้












                                                                                                                                           



บรรณานุกรม
โครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภททดลอง เรื่องเจลล้างมือจากว่านหางจระเข้  2560.
   [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา  http://thaksinkhasaraj.blogspot.com/  (12 สิงหาคม 2560).

แอลกอฮอล์  2557.  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C (12 สิงหาคม 2560).

ว่านหางจระเข้  2560. .  [ระบบออนไลน์].  แหล่งที่มา
(12 สิงหาคม 2560).















                                                                                                                                           


ภาคผนวก







 

















จัดทำโดย นายวีรชน จิรพงศากุล ม.5/8 เลขที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น